สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ มีข้อบังคับบางประการที่ทางบริษัทเสนอขายหุ้นกู้เหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายประเทศไทย
โดยขึ้นอยู่กับว่าเสนอขายให้กับใคร ซึ่งวิธีการแบ่งนักลงทุนแต่ละประเภทสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ มีดังนี้:
นักลงทุนเฉพาะเจาะจง (PP-10)
นักลงทุนสถาบัน (II)
นักลงทุนรายใหญ่ (HNW)
นักลงทุนทั่วไป (PO)
ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น / ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยมีเงื่อนไขไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (RO/PPO)
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างแต่ละกลุ่มและเหตุผลพื้นฐานบางประการจึงทำให้ระเบียบข้อบังคับแตกต่างกัน
นักลงทุนเฉพาะเจาะจง (PP-10)
หุ้นกู้ PP-10 จะเสนอขายให้กับกลุ่มนักลงทุน ที่ไม่เกิน 10 สถาบัน/บุคคล การเสนอขายหุ้นกู้นี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยเป็นบุคคล 10 คนที่เกี่ยวข้องภายในบริษัท เช่น นักลงทุนสถาบัน, คณะกรรมการตรวจสอบ, คณะผู้บริหาร, ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้นมากกว่า 10%) และบริษัทย่อยของบริษัท หากบริษัทเสนอขายหุ้นกู้ PP-10 ให้กับนักลงทุนสถาบัน โดยไม่จำกัดมูลค่าของการเสนอขาย และสามารถเสนอขายได้ทุก 4 เดือน แต่หากเสนอให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในบริษัท จะเสนอขายได้ครั้งละไม่เกิน 50 ล้านบาท และต้องชำระหนี้ให้หมดก่อนจึงจะสามารถเสนอขายหุ้นกู้ PP-10 ได้อีก
เนื่องจากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนสถาบันหรือบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่ส่วนใหญ่เลือกโดยบริษัท เลยสันนิษฐานได้ว่านักลงทุนมีความรู้เกี่ยวกับบริษัทอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดอันดับเครดิตหรืออันดับความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ทางบริษัทยังจำเป็นต้องรายงานต่อสาธารณชน เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นภายในองค์กร ที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของนักลงทุนบางรายได้
นักลงทุนสถาบัน (II)
หุ้นกู้ II สามารถมีมูลค่าเท่าไหร่ก็ได้ จึงมีความแตกต่างจากหุ้นกู้ PP-10 ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีข้อจำกัด ในการเพิ่มมูลค่าในการเสนอขายแต่ละครั้ง เช่นเดียวกับหุ้นกู้ PP-10
คือ หุ้นกู้ II ไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์หรือการจัดอันดับเครดิต และให้ถือว่าผู้ลงทุนสถาบันได้ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน โดยอ้างอิงจากข้อมูลสาธารณะของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นกู้ PP-10 สำหรับหุ้นกู้ II ทางบริษัทยังต้องรายงานเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น บริษัทยังต้องส่งงบการเงินเพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันตรวจสอบ
นักลงทุนรายใหญ่ (HNW)
สิ่งที่คุณจะเริ่มเห็นสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในอีก 2 ประเภทถัดไป คือ ความเข้มงวดด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจากจำนวนผู้เสนอขายหุ้นกู้มีมากขึ้น สำหรับหุ้นกู้ที่เสนอขายให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่ จำเป็นต้องมีผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์และผู้กู้ต้องมีตัวแทนอยู่ด้วย จึงสามารถดำเนินธุรกรรมได้ สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้จะต้องยื่นเรื่องต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาด้วย หลังการออก เช่นเดียวกับหุ้นกู้ II ผู้กู้ต้องส่งงบการเงินและรายงานเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น
นักลงทุนทั่วไป (PO)
สำหรับหุ้นกู้ PO จะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดที่สุดในบรรดาประเภทการเสนอขายหุ้นกู้ทั้งหมด เนื่องจากเป็นการเสนอขายต่อประชาชนอย่างเปิดเผย เพราะ ก.ล.ต. ต้องการที่จะปกป้องนักลงทุนที่มีศักยภาพทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับตลาดการเงิน เช่นเดียวกันกับหุ้นกู้ที่เสนอขายให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่
คือ จำเป็นต้องมีผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์และต้องยื่นแบบแสดงรายการหุ้นกู้ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. แต่ข้อแตกต่างหลักๆ ก็คือ การจัดอันดับเครดิตจะต้องระบุระดับความปลอดภัยในการลงทุนในบริษัท ผู้กู้ต้องยื่นรายงานประจำปี งบการเงิน และรายงานเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ
ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น / ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นโดยมีเงื่อนไขไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (RO/PPO)
ถึงแม้ว่า ข้อเสนอสี่ประเภทแรกที่ระบุไว้จะนำไปใช้กับตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ ยังมีข้อเสนอประเภทอื่นให้ใช้งานด้วย ซึ่งก็คือ RO/PPO ในการเสนอขายประเภทนี้ ผู้กู้มีความสามารถในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพแก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบันทั้งหมดโดยไม่มีการจัดอันดับเครดิตภายใต้สมมติฐานว่าผู้ถือหุ้นปัจจุบันมีความรู้เกี่ยวกับบริษัท กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องมีผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ แต่ผู้กู้ต้องรายงานเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ หากมีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ สิทธิในการจองซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ณ การกำหนดวันให้สิทธิผู้ถือหุ้น