ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม

พูดคุยกับเราได้ที่ Line Official Account

3

เศรษฐกิจในประเทศ

GDP ด้านการผลิต

Figure 2 : GDP ด้านการใช้จ่าย

GDP ด้านการใช้จ่าย

( Source : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา )

  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัว 2.6% ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ 3.4% มาจจาก การอุปโภคบริโภคสินค้ากึ่งคงทน สินค้าไม่คงทน และบริการชะลอลงขณะที่การอุปโภคสินค้าคงทนปรับตัวลดลง
  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัว 3.4% ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ 5.4% โดยค่าตอบแทนแรงงาน ค่าซื้อสินค้าและบริการและการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดชะลอลง
  • การลงทุน ขยายตัว 4.7% เทียบกับการขยายตัว 5.1% ในไตรมาสก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากการลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ดุลการค้าและบริการ เกินดุลรวม 386.9 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 276.4 พันล้านบาท และ ดุลบริการเกินดุล110.5 พันล้านบาท
  • ภาคการส่งออก
    • ประเทศไทยมีการเติบโตของ GDP มาจากการส่งออกเป็นหลักคิดเป็นสัดส่วนราวๆ 68% ของ GDP นับตั้งเเต่ปี 2014 ซึ่งต้องพึ่งพา global demand  อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ 2022 เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ภาคส่งออกไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจน จนถึงช่วงเดือนธันวาคม ได้ปรับตัวลดลงสูงสุดถึง -14.6%  อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกไทยค่อยๆฟื้นตัวตั้งเเต่ต้นปี 2023 จนมาถึงปี 2024 การกลับมาของ donald trump ที่มาพร้อมกับนโยบายที่ส่งผลต่อภาคการส่งออก และ เศรษฐกิจมหภาค 
    • ผลกระทบเศรษฐกิจไทย จาก นโยบาย ทรัมป์
      • อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าประเทศไทย พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เเละสัดส่วนประเทศที่ไทยส่งอออกไปมากที่สุดก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 19.38% ทั้งนี้เเน้วโน้มย้อนหลัง 3 ปี การส่งออกไปยังสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทําให้ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนําเข้าของสหรัฐส่งผลอย่างมากต่อไทย 
      • โดยสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือเรื่อง ภาษีตอบโต้(reciprocal tariffs) ที่ทรัมป์ได้ประกาศต่อประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ โดยสินค้านำเข้าจากประเทศไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงถึง 37% 
  • สินค้าที่ได้รับผลกระทบหลัก
    • เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องพิจารณาสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐฯ ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีดังกล่าว ซึ่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เเละส่วนประกอบ ซึ่งคิดเป็น 23.33% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของไตรมาสเเรก
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ Q1 ปีที่เเล้ว
    • เมื่อเทียบกับไตรมาสเเรกเมื่อปีที่เเล้ว การส่งออกภาพรวมเพิ่มขึ้น 20% โดยการส่งออกสินค้า “เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เเละส่วนประกอบ” มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก 57% เเละสินค้าอื่นๆ อาทิเช่น เครื่องประดับ,เครื่องจักรกล, เเละอีก มากมาย  ซึ่งคาดว่าเป็นการเร่งส่งออกสินค้าก่อนที่จะถึง phase ของการโดนภาษ
    • เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าว ไทยอาจจำเป็นต้องเร่งหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ลดการพึ่งพาตลาดเดียว และเร่งพัฒนาภาคบริการ รวมถึงการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ
  • ผลกระทบทางด้าน supply chain หากการเจรจาไม่สําเร็จ
    • อีกเรื่องที่ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดคือ การเจรจาระหว่างไทยสหรัฐ หารการเจรจาไม่สําเร็จ เม็ดเงินการลงทุนจากต่างชาติจะออกจากไทยมากขึ้น ทําให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในอนาคต เเละทําให้บริษัทต่างชาติพิจารณาการลงทุนในไทยซํ้าอีกครั้งในระยะยาวหรือไม่ เช่น อาจมีการย้ายฐานการผลิตเพื่อเลี่ยงภาษี

Figure 4 : รายงานข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนไทย

( Source : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร )

นักท่องเที่ยวไทย 1Q2568

  • ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 7.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 10.4 ใน 4Q2567 หมวดการให้บริการที่พักแรมขยายตัวร้อยละ 14.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 22.3 หมวดการให้บริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 1.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้ชะลอตัวลงจากปัจจัยฤดูกาลในไตรมาสก่อนหน้า รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศมีจำนวน 9,549,004 คน เทียบกับ 9,456,858 คน ในไตรมาสก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยมีจำนวน 69,750,935 คน-ครั้ง เทียบกับ 70,645,984 คน-ครั้ง ในไตรมาสก่อนหน้า ลดลงเพียงเล็กน้อย

Figure 5 : การเติบโตของ GDP ของประเทศใน ASEAN

GDP ไทย เทียบกับประเทศใน ASEAN

  • แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง(Figure 4 กราฟแท่งขวาสุด) แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในASEAN แล้ว อัตราการเติบโตยังคงอยู่ในระดับรั้งท้าย การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการเติบโตในอนาคต รวมไปถึงการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของ GDP ไทย ซึ่งยังคงต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่อง

( Source : FynnCorp IAS’s compilation from SEC and ThaiBMA )