
หุ้นกู้
เศรษฐกิจในประเทศ
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน: ความผันผวนและโอกาสในตลาดสินทรัพย์ต่างๆ
อ่าน 1 นาที
Key Highlights:
- ผลกระทบต่อ “พันธบัตร” โดยอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 4.0% เป็น 4.4%
- ผลกระทบต่อ “ค่าเงิน” สกุลเงิน หลักๆมีความผันผวน โดยเฉพาะ ดอลลาร์ และ หยวน
- ผลกระทบต่อ “ตลาดหุ้น” ตลาดหุ้นทั่วโลก มีการผันผวนในช่วงแรกจาก Panic Sell
- ผลกระทบต่อ “ทองคำ” พุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่จากการอ่อนค่าลงของ ดอลลาร์
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลก รวมไปถึง ประเทศคู่ค้าและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
- ผลกระทบต่อ “เศรษฐกิจโลก” การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ในประเทศเศรษฐกิจหลักหดตัว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน ส่งผลให้ GDP โลกโดยรวมลดลง โดยประเทศ สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 60% จะทำให้ GDP โลกหดตัว -0.17% และการส่งออกโลกหดตัว -0.64% จากกรณีฐาน ในช่วงแรก ซึ่งหากขยาย มาตรการขึ้นภาษีไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย ผลกระทบจะรุนแรงขึ้น การส่งออกโลกอาจลดลงมากถึง -5% และ GDP โลกหดตัวมากถึง -0.25% สิ่งที่จะตามมาคือการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน ครั้งใหญ่ โดย สหรัฐฯ ได้รับผลกระทบเชิงลบย้อนกลับจากต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาวัตถุดิบจากจีน ทำให้ต้องมีการย้ายฐานการผลิตกลับมาที่ประเทศของตัวเองเป็นหลักซึ่งเป็นไปตามความต้องการของ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์
- ผลกระทบต่อ “ประเทศไทย” ได้รับผลกระทบเชิงลบทั้งทางตรงจากการที่ สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากไทย และทางอ้อม เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง และรองเท้า แม้ไทยอาจได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตบางส่วน แต่โดยรวม GDP ของไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบเชิงลบมากกว่าผลบวกในระยะยาว เพราะการส่งออกหลักของไทยพึ่งพิง สหรัฐมากเป็นสัดส่วนกว่า 20%
โดยนอก จากผลกระทบในระดับประเทศนั้นได้ส่งผงผลกระทบลงมาถึง สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆอีกด้วย
- ผลกระทบต่อ “พันธบัตร” ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น พันธบัตรอายุ 10ปี ปรับขึ้นจาก 4.0% อยู่ที่ประมาณ 4.4% จากปัจจัยในเรื่องของความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ปลอดภัย0ของสหรัฐลดลง ซึ่งสาเหตุของการที่ความเชื่อมั่นลดลงเกิดจาก สงครามการค้า โดยเฉพาะการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆของสหรัฐ ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น สิ่งที่จะตามคือเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงทำการเทขายพันธบัตรรัฐบาล เพื่อเป็นการ lock อัตราผลตอบแทน แต่เป็นเพียงแค่ระยะสั้น เพราะในระยะยาวนักลงทุนยังคงมีความกังวลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยเรื่องภาษี แล้วนั้น แต่ในระยะยาวนักลงทุนยังมองมีมุมมองต่อการลดดอกเบี้ยของ FED มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ย
- ผลกระทบต่อ “ค่าเงิน”
- ดอลลาร์ (USD) ในช่วงที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนทวีความรุนแรง การประกาศขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ต่อสินค้าจีน ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลัก
- หยวน (CNY) เงินหยวนของจีนอ่อนค่าลง จากการที่รัฐบาล ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง เพราะมีความต้องการที่จะลดผลกระทบจากภาษีของสหรัฐฯ ทำให้สินค้าส่งออกจีนมีราคาถูกลงและแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก
- บาท (THB) ในส่วนของค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับดอลลาร์ นั้นมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น จากการที่นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์ลง
- ผลกระทบต่อ “ตลาดหุ้น” โดยในตลาดหุ้นทั่วโลก ร่วงลง: นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ อย่างหุ้นในช่วงแรก เป็นสัญญาณของความไม่เข้าใจถึงความขัดแย้ง และ ยังมองไม่เห็นทางออก หรือผลลัพธ์ ส่งผลให้เกิดการเทขายของสินทรัพย์เสี่ยง ในช่วงแรก
- ผลกระทบต่อ “ทองคำ” ราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ (All-Time High) เงินดอลลาร์อ่อนค่า ทำให้มูลค่าทองคำมากขึ้น จากการที่ใช้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการซื้อ-ขาย การที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหรือพูดอีกนัยนึง คือมีมูลค่าลดลง ก็จะส่งผลให้มูลค่าของทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และทำให้กระแสเงินของแต่ละประเทศต่างไหลเข้าสู่ทองคำส่งผลให้ทองคำมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
โดยที่ล่าสุด สหรัฐ มีท่าทีที่อ่อนข้อลง โดยไม่ต้องการให้อัตราภาษีสูงขึ้นไปมากกว่านี้แล้ว เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะไม่มีการค้าขายเกิดขึ้น ซึ่งสหรัฐเอง ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น และอาจมีการชะลอการเก็บอัตราภาษีลงเพื่อให้เกิดกิจกรรมการค้าขึ้นในบางประเทศ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้ามาเจรจารกับ ทางสหรัฐ
กรอกอีเมล เพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากเรา
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
สรุป World Economic Outlook, เมษายน 2025
ปรับเป้า GDP ทั่วโลกลง จากผลกระทบของสงครามการค้า IMF ลดน้ำหนักการเกิด Recession ลง ไทย โดนปรับลด GDP…
-
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ เดือน มีนาคม 2568 : Bond Research
มูลค่าตราสารหนี้เสนอขายในเดือน มีนาคม 2568 ลดลง 4.54% MoM แต่เพิ่มขึ้น 7.73% YoY ที่ 6.7 หมื่นล้านบา…
-
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ เดือน กุมภาพันธ์ 2568 : Bond Research
มูลค่าเสนอขายหุ้นกู้เสนอขายในเดือน กุมภาพันธ์ 2568 เพิ่มขึ้น 8.42% MoM แต่ลดลง 21.4% YoY ที่ 7.1 หมื…
-
รายงานตัวเลข GDP ไทย Q4/2567 โตต่ำกว่าคาด 2.5%
ในไตรมาสที่ 4/2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแม้จะต่ำกว่าที่คาด…