ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม

พูดคุยกับเราได้ที่ Line Official Account

< 1

ความรู้ทั่วไป

M&A ย่อมาจาก “Merger and Acquisition” หรือ การควบรวมกิจการ

โดย Mergers หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมา โดยที่บริษัทเดิมทั้ง 2 (หรือมากกว่า) เป็นเจ้าของร่วมกัน ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การเข้าซื้อกิจการ โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ซึ่ง M&A ที่เคยเกิดขึ้น ก็จะมีอย่างเช่น การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ในปัจจุบัน

โดย M&A จะแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1. Backward

การควบรวมกิจการไปยังต้นนำ้ หรือก็คือ การที่บริษัทหนึ่งเข้าควบรวมกิจการกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิต ส่งออกให้กับบริษัทนั้นๆ เช่น MAKRO ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าซื้อกิจการ Indoguna ซึ่งประกอบกิจการตัวแทนจำหน่ายสินค้าบริโภค

2. Forward

การควบรวมกิจการไปยังปลายน้ำ หรือก็คือ การที่บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้ผลิต ส่งออกเข้าควบรวมกิจการกับบริษัทที่ส่งออกไปให้ เช่น BJC ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและกระจายสินค้าเข้าซื้อกิจการ BIGC ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าปลีก

3. Horizontal 

การควบรวมกิจการในระดับเดียวกัน หรือการควบรวมกับกิจการที่มีลักษณะการทำธุรกิจเดียวกัน เช่น TRUE ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เข้าควบรวมกิจการกับ DTAC  ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เช่นเดียวกัน

4. Diversification

การควบรวมกิจการไปยังธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น PACE ซึ่งดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าควบรวมกิจการกับ Dean & Deluca ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านขนม

โดยการควบรวมกิจการ แน่นอนว่ามีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 

  • การขยายฐานลูกค้า เพราะเมื่อ 2 แบรนด์ควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน ‘ฐานลูกค้า’ ก็จะมีการเพิ่มขยายขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด 
  • สร้างโอกาสทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่หรือรายย่อย เมื่อเห็นธุรกิจไหนที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ มีแนวโน้มในการเติบโตที่สูงขึ้น นักลงทุนก็ย่อมมีความสนใจร่วมลงทุนดวย
  • กระจายเครือข่ายการตลาด เมื่อเกิดการรวมกิจการเรียบร้อย ช่องทางการขายหรือจุดขายสาขาต่างๆ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แบรนด์สามารถทำการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง ถือว่าเป็นอีกสิ่งที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับแบรนด์
  • ลดต้นทุนในการผลิต เมื่อเกิดการควบรวมกิจการแบบนี้ แปลว่าทั้ง 2 แบรนด์ก็จะได้แหล่งในการผลิตที่มีคุณภาพ สามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ  
  • เพิ่มโอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ๆ การรวมกิจการยิ่งเป็นการทำให้เพิ่มโอกาสของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการควบรวมกิจการกันของมันสมองชั้นดีจากบุคลากรมากฝีมือของ 2 ฝั่ง รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถนำมาเอื้อกันให้เกิดประโยชน์

การควบรวมกิจการ ถือเป็นกลยุทธ์ที่ทั่วโลกให้ความนิยมและเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ หลายบริษัทที่ต้องการออกกลยุทธ์เพื่อการเติบโต เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน หรือเพื่อการอยู่รอดของกิจการ ที่ฟินน์คอร์ป เรามีบริการวาณิชธนกิจที่ครอบคลุมในการประเมินมูลค่าธุรกิจ คำแนะนำการซื้อขาย การควบรวมและเข้าถือครองกิจการ เราสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหลักในทุกการตัดสินใจสำคัญทางธุรกิจ สามารถเริ่มต้นปรึกษาธุรกิจเพิ่มเติมกับ “ฟินน์คอร์ป กรุ๊ป” 

ค้นพบโอกาสทางธุรกิจของคุณกับเราได้ที่นี่

มากกว่าแค่การเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงินและการลงทุน

เราพร้อมมอบคำปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนที่เหมาะสมให้กับลูกค้า

  • ,

    Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 

    Warrant คือ ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underly…

  • , ,

    การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer)

    การทำ Tender offer หรือ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ คือการที่บริษัทหนึ่งสนใจเข้าควบรวมกิจการกับอีกบริษัท โด…

  • , ,

    ทางเลือก “การปรับโครงสร้างหนี้” กลยุทธ์ที่ช่วยผ่าวิกฤต 

    การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ซึ่งไม…

  • , ,

    วาณิชธนกิจ กับการมอบคำแนะนำที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า  

    วาณิชธนกิจ หรือ Investment Banking หมายถึง สถาบันทางการเงินหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการระดมเงินทุน,…