ความรู้ทั่วไป
Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
อ่าน 1 นาที
Warrant คือ ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) โดย Warrant จะมาสามารถใช้สิทธิ์แปลงเป็นหุ้นสามัญได้ แต่ต้องทำการชำระเงินเพิ่ม เพื่อเปลี่ยนจาก Warrant เป็นหุ้นสามัญ ซึ่งก็คือ ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) โดยทั่วไป หลักทรัพย์อ้างอิง จะเป็นหุ้นของบริษัทที่ออกวอร์แรนท์ แต่หากเป็นวอร์แรนท์ให้สิทธิซื้อหุ้นของบริษัทอื่น จะเรียกว่า ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant หรือ DW)
การออกวอร์แรนท์มีจุดประสงค์เพื่อการระดมทุนระยะยาว โดยส่วนมากทางบริษัทที่ออกวอร์แรนท์จะสามารถให้นักลงทุนเอาวอร์แรนท์กลับมาแปลงเป็นหุ้นอ้างอิงได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของ Warrant ที่มีผลต่อบริษัท
- บริษัทสามารถกำหนดอายุและระยะเวลาการใช้สิทธิของ Warrant ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่บริษัท
- ต้องการใช้เงิน ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนได้เหมาะสม
- เพิ่มโอกาสในการขยายฐานผู้ลงทุนรายใหม่ เนื่องจากผู้ลงทุนใน Warant อาจเป็นคนละกลุ่มกับผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ และ Warrant ที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน อาจจะช่วยสร้างความนำสนใจให้กับหุ้นสามัญของบริษัท
- การใช้สิทธิของผู้ถือ Warrant จะช่วยเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญ ส่งผลให้หุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายมากขึ้น
- การออก Warrant ควบคู่กับการออกตราสารทางการเงินอื่น จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ รวมถึงช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ให้กับตราสารทางการเงินที่บริษัทจะเสนอขาย
- ช่วยให้หุ้นสามัญมีสภาพคล่องในการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการซื้อขายหุ้นของตน
ซึ่งการออกวอร์แรนท์นั้น สามารถชะลอผลกระทบของ Dilution Effect เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มทุนจะยังไม่เพิ่มขึ้นทันที จนกว่าผู้ถือวอร์แรนท์จะมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ และจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ การออกวอร์แรนท์ ยังช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท หรือ Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) เพราะเมื่อวอร์แรนท์ถูกใช้สิทธิแปลงสภาพ จะถูกบันทึกเข้ามาอยู่ในส่วนทุน ต่างจากกรณีที่บริษัทไปกู้ยืมเงินมา ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นหนี้สิน
วอร์แรนท์ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของการประกอบธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน บุคคลหรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการคำปรึกษาที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มศักยภาพระดับสูงสุดให้กับธุรกิจ สามารถเริ่มต้นปรึกษาธุรกิจเพิ่มเติมกับ “ฟินน์คอร์ป”
มั่นใจได้ว่าจะได้รับคำแนะนำอย่างเป็นมืออาชีพและบริการเฉพาะตัวที่ FYNNCORP อย่างแน่นอน
ค้นพบโอกาสทางธุรกิจของคุณกับเราได้ที่นี่
กรอกอีเมล เพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากเรา
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer)
การทำ Tender offer หรือ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ คือการที่บริษัทหนึ่งสนใจเข้าควบรวมกิจการกับอีกบริษัท โด…
-
ทางเลือก “การปรับโครงสร้างหนี้” กลยุทธ์ที่ช่วยผ่าวิกฤต
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ซึ่งไม…
-
M&A หรือ การควบรวมกิจการ
M&A ย่อมาจาก “Merger and Acquisition” หรือ การควบรวมกิจการ
-
วาณิชธนกิจ กับการมอบคำแนะนำที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
วาณิชธนกิจ หรือ Investment Banking หมายถึง สถาบันทางการเงินหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการระดมเงินทุน,…