ความรู้ทั่วไป
ทางเลือก “การปรับโครงสร้างหนี้” กลยุทธ์ที่ช่วยผ่าวิกฤต
อ่าน 3 นาที
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า คุณบริหารงานผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจล้มเหลว แต่เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เศรษกิจ สถานการณ์ต่างๆ ที่อาจทำให้ธุรกิจของคุณผิดพลาด ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้เพื่อเป็นทางออกให้กับธุรกิจของคุณได้
โดยกลยุทธ์การปรับโครงสร้างหนี้ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
- 1. ยืดระยะเวลาชำระหนี้
การขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ เช่น จาก 3 ปี เป็น 4 ปี เพื่อให้จำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละเดือนลดลง ซึ่งเจ้าหนี้อาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ลูกหนี้จะมีเงินใช้จ่ายหมุนเวียนในแต่ละเดือนมากขึ้น - 2. พักชำระเงินต้น
วิธีการนี้ จะเป็นการเจรจาขอชำระเพียงดอกเบี้ยอย่างเดียวทุกเดือน เช่น แต่ละเดือนจะต้องผ่อนชำระเงินต้น 8,000 บาท ดอกเบี้ย 12,000 บาท รวมเป็น 20,000 บาท โดยอาจกำหนดระยะเวลาร่วมกันกับเจ้าหนี้ อาจเป็น 6 – 12 เดือนตามแต่เจ้าหนี้จะผ่อนปรน ทำให้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ลูกหนี้จะชำระเพียงดอกเบี้ยแต่ละเดือนจำนวน 12,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนดสัญญา ลูกหนี้จะต้องชำระเงินต้นคงค้างเป็นเงินก้อนตามจำนวนที่ค้างชำระ วิธีการนี้จะไม่ทำให้เกิดการคำนวณดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดชำระซึ่งจะทำให้ก้อนหนี้ใหญ่ขึ้นในอนาคต - 3. ลดอัตราดอกเบี้ย
การเจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มความสามารถให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นหรือลดจำนวนหนี้ที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดลง โดยเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถนำเงินที่เหลือไปหมุนเวียนได้ ทั้งนี้ ลูกหนี้เองควรศึกษาอัตราดอกเบี้ยและเปรียบเทียบของแต่ละสถาบันการเงินขอเจรจาต่อรอง - 4. ขอยกเว้น หรือขอผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริง ดังนั้น ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ของระบบสถาบันการเงินสามารถเจรจาเพื่อขอผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระได้ ทั้งนี้ ไม่ควรปล่อยให้เกิดการผิดนัดชำระต่อเนื่อง - 5. ขอเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
วิธีการนี้เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้สถาบันการเงิน ให้เงินทุนหมุนเวียนใหม่แก่กิจการพื้นฐานดี โดยแยกสินเชื่อนี้ออกจากสินเชื่ออื่นที่อาจเป็นหนี้เสีย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องขอเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อนำเสนอข้อมูลเพื่อสถาบันการเงินประกอบการพิจารณาเพิ่มเงินทุน - 6. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว แล้วเปลี่ยนหนี้ดอกแพงให้เป็นดอกถูก
การนำหนี้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกระบบ หรือแม้กระทั่งการรวมหนี้บัตรเครดิตหลาย ๆ ใบ เอาไว้ที่เดียวกัน ข้อดี คือ ช่วยปิดหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพง ๆ ทั้งหมด แล้วมาผ่อนเป็นรายงวดกับสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียวที่ศึกษาหรือเจรจาขออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และมีจำนวนการผ่อนที่ยาวนานขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการปิดหนี้ทั้งหมดให้เหลือหนี้อยู่เพียงก้อนเดียว - 7. ปิดหนี้ด้วยการเพิ่มเงินหรือเพิ่มความถี่ชำระหนี้
เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่ยังพอมีกำลังจ่ายไหวและมีกระแสเงินสดเข้ามาทุกเดือน และในแต่ละเดือนมีเงินเหลือจากการใช้จ่าย โดยนำไปชำระหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อลดดอกเบี้ย เพราะโดยปกติดอกเบี้ยของเงินกู้จะคำนวณจากยอดเงินกู้รายวัน แล้วบวกกันจนเป็นยอดเงินกู้รายเดือน การบริหารหนี้ลักษณะนี้สามารถทำได้โดยการเพิ่มยอดชำระหรือเพิ่มความถี่ในการชำระแต่ละเดือน หากสามารถชำระหนี้ผ่านระบบหักเงินอัตโนมัติจะยิ่งช่วยให้ชำระหนี้ได้ตรงเวลา โดยไม่ต้องกลัวลืมและเกิดดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระและทำให้ผู้ให้กู้เห็นความสามารถในการชำระหนี้ และจัดให้เป็นลูกหนี้ชั้นดีและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายดายขึ้นในอนาคต - 8. การรีไฟแนนซ์
การทำรีไฟแนนซ์ (Refinance) หมายถึง การชำระเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดด้วยเงินกู้ใหม่ และใช้สินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน โดยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่ เพื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้เราผ่อนชำระได้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม ช่วยลดภาระหนี้ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่าเดิม สามารถนำเงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไปใช้จ่ายเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจหรือเรื่องจำเป็นอื่นๆ ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ ต้องคำนึงถึงระยะเวลาผ่อนชำระที่จะนานขึ้น และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการรีไฟแนนซ์และเวลาสำหรับการจัดเตรียมเอกสาร
ที่ ฟินน์คอร์ป เรามีบริการช่วยเหลือลูกค้าของเราด้วยการสร้างแผนการปรับโครงสร้างหนี้ เราเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้และผู้ถือพันธบัตรเพื่อขอประวิงเวลาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงมา การจ่ายชำระประมูลหนี้ การยกหนี้ และทางออกอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อที่จะลดขั้นตอนการชำระคืนหนี้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเหลือด้านการรีไฟแนนซ์อีกด้วย
เราให้ความสะดวกในการปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่ายเพื่อลดการสูญเสียขาดทุนให้น้อยที่สุดสำหรับเจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ โดยเราอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การรวมหนี้ การลดค่าใช้จ่าย การรีไฟแนนซ์ การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้และการลดการใช้คืนหนี้ให้อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
สามารถเริ่มต้นปรึกษาธุรกิจเพิ่มเติมไปกับ “ฟินน์คอร์ป”
ค้นพบโอกาสทางธุรกิจของคุณกับเราได้ที่นี่
กรอกอีเมล เพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากเรา
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
Warrant คือ ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underly…
-
การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer)
การทำ Tender offer หรือ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ คือการที่บริษัทหนึ่งสนใจเข้าควบรวมกิจการกับอีกบริษัท โด…
-
M&A หรือ การควบรวมกิจการ
M&A ย่อมาจาก “Merger and Acquisition” หรือ การควบรวมกิจการ
-
วาณิชธนกิจ กับการมอบคำแนะนำที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
วาณิชธนกิจ หรือ Investment Banking หมายถึง สถาบันทางการเงินหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการระดมเงินทุน,…