ความรู้ทั่วไป
หุ้นกู้
สรุป วอร์แรนท์
อ่าน 3 นาที
วอร์แรนท์คืออะไร และทำงานอย่างไร?
วอร์แรนท์ หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ คือตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นตราสารทุน ณ ราคาที่กำหนดก่อนหมดอายุ เมื่อบริษัทออกวอร์แรนท์ ทางบริษัทจะมีเงื่อนไขการใช้สิทธิ์เป็นเฉพาะของตนซึ่งกำหนดโดยบริษัท ยกตัวอย่างเช่น โดยทั่วไปแล้ว บริษัทในสหรัฐอเมริกาจะออกวอร์แรนท์ที่สามารถใช้สิทธิได้ตลอดเวลาก่อนวันหมดอายุ ในขณะที่บริษัทในยุโรปมักจะออกวอร์แรนท์ ที่สามารถใช้สิทธิได้แค่ในวันหมดอายุเท่านั้น
วอร์แรนท์กับสัญญาสิทธิ ต่างกันอย่างไร?
ถึงแม้ว่าจะใกล้เคียงกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างกันที่สำคัญอยู่ สิ่งแรกที่วอร์แรนท์มี คือการมีมูลค่าลดลง หมายความว่าบริษัทจะออกวอร์แรนท์ใหม่ได้ ต้องออกหุ้นใหม่สำรองไว้ก่อนเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับวอร์แรนท์ ส่วนสัญญาสิทธิ จะไม่มีมูลค่าลดลง หมายความว่าผู้ลงทุนจะซื้อหรือขายสัญญาสิทธิ โดยมีเงื่อนไขพร้อมกับหุ้นที่มีอยู่ในตลาด นอกจากนี้ วอร์แรนท์จะออกโดยบริษัท ในขณะที่สัญญาสิทธิจะเขียนโดยผู้ลงทุนที่ถือหุ้นที่ทางบริษัทออกจำหน่ายในตลาดทุนและอยู่ในมือผู้ถือหุ้นแล้ว ทำให้เมื่อมีวอร์แรนท์อยู่ หุ้นที่แนบมากับวอร์แรนท์จะเป็นภาระผูกพันจากบริษัท ซึ่งตรงข้ามกับสัญญาสิทธิที่ขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนที่สัญญาสิทธินั้น
แล้วบริษัทได้อะไรจากการออกวอร์แรนท์?
โดยทั่วไปแล้ว ทางบริษัทจะออกวอร์แรนท์แนบมากับตราสารหนี้ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีกว่าสำหรับตราสารหนี้ทั่วไป เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า เป็นต้น โดยวอร์แรนท์จะออกให้ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่า และมักจะแยกออกจากตราสารหนี้ ซึ่งหมายความว่าสามารถขายในตลาดรองได้ก่อนที่จะหมดอายุ ทางบริษัทเลยมักจะก็ออกวอร์แรนท์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนเช่นกัน เนื่องจากเมื่อผู้ลงทุนใช้สิทธิแปลงวอร์แรนท์เป็นหุ้น บริษัทจะต้องออกหุ้นใหม่ที่ผู้ลงทุนซื้อไว้ ทำให้เงินสดไหลเข้าบริษัทเพิ่มขึ้น
กรณีศึกษาจากวอร์แรนท์
หลายคนมองว่า วอร์แรนท์เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของหุ้น เมื่อออกวอร์แรนท์แล้ว ผู้ลงทุนจะมีช่วงเวลาก่อนที่วอร์แรนท์จะหมดอายุ ให้ตัดสินใจว่าต้องการใช้สิทธิ์ในการแปลงวอร์แรนท์ให้กลายเป็นหุ้นในราคาที่กำหนดหรือไม่
มาลองดูของบริษัท A เป็นตัวอย่าง`
แผนภูมิที่ 1 แสดงราคาหุ้นของ บริษัท A ตั้งแต่มกราคม 2564 ถึงปัจจุบัน สิ่งที่เราเห็นได้จากแผนภูมิ คือเมื่อเวลาผ่านไป ราคาหุ้นได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
แผนภูมิที่ 2 แสดงราคาของวอร์แรนท์ของ บริษัท A ตั้งแต่มกราคม 2564 และที่เห็นได้ชัดเจน คือ แผนภูมิทั้งสองแทบจะเหมือนกันทุกประการ ต่อมาในช่วงมีนาคม 2564 เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจะสามารถคาดเดาได้ว่าราคาของวอร์แรนท์จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ลงทุนเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่วอร์แรนท์จะถูกแปลงเป็นหุ้น ทำให้มันมีมูลค่ามากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป แล้วราคาหุ้นลดลง วอร์แรนท์ก็จะลงก็เช่นกัน เนื่องจากเมื่อใกล้วันหมดอายุก็มีโอกาสที่หุ้นจะไปถึงราคาใช้สิทธิน้อยลง ทำให้วอร์แรนท์มีมูลค่าน้อยลง
กรอกอีเมล เพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากเรา
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
Warrant คือ ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underly…
-
การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer)
การทำ Tender offer หรือ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ คือการที่บริษัทหนึ่งสนใจเข้าควบรวมกิจการกับอีกบริษัท โด…
-
ทางเลือก “การปรับโครงสร้างหนี้” กลยุทธ์ที่ช่วยผ่าวิกฤต
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ซึ่งไม…
-
M&A หรือ การควบรวมกิจการ
M&A ย่อมาจาก “Merger and Acquisition” หรือ การควบรวมกิจการ